กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม

Department of Corrections, Ministry of Justice
เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี
ประวัติเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี

เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี
ที่ตั้งปัจจุบัน
เลขที่ 168 หมู่ 3 ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84160
การบริหารราชการ
เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่อยู่ในส่วนภูมิภาค ขึ้นตรงกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม
อำนาจการควบคุม 15 ปี ถึงประหารชีวิต
เขตอำนาจศาล
-เขตอำนาจศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
-เขตอำนาจศาลจังหวัดเวียงสระ
-เขตอำนาจศาลแขวงสุราษฎร์ธานี
-เขตอำนาจศาลจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี
-เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประวัติเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี
ผู้มีอำนาจดูแลเรือนจำ
-ผู้บัญชาการเรือนจำ เจ้าเมือง/ข้าหลวง (ผู้ว่าราชการ) เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยโดยทั่วไปของเรือนจำในเขตเมือง จังหวัด และอำเภอ
-พะธำมะรงค์ /พัศดี เป็นหัวหน้าผู้คุมดูแลความเรียบร้อยประจำเรือนจำ


ตะราง/เรือนจำเมืองสุราษฎร์ธานี
1. ก่อน พ.ศ.2444 (ร.ศ.120) เป็นตะรางประจำเมือง ตั้งอยู่ใกล้จวนเจ้าเมือง/ ข้าหลวง (ผู้ว่าราชการ) ผู้ทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร บริเวณที่ตั้งจวนเจ้าเมืองตั้งอยู่ถนนหน้าเมือง ติดกับแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) (บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีปัจจุบัน : ความเห็นผู้เขียน) เพราะเดิมใช้เส้นทางน้ำเป็นทางสัญจรหลัก มีหน่วยราชการต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน เช่น สุขศาลา (โรงพยาบาล) โรงพัก ศาลากลาง ศาล ตะรางเป็นที่สำหรับขังนักโทษของเจ้าเมือง เป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการเมือง อยู่ใกล้แม่น้ำตาปี ประมาณ 200 เมตร ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. พ.ศ.2444 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรือนจำตามพระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำ ร.ศ.120 เปลี่ยนตะรางเป็นเรือนจำ ปรากฏชื่อเรือนจำตามชื่อเมือง
เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (แห่งเดิม ที่ตั้ง : จวนผู้ว่าเมือง ริมแม่น้ำหลวง)
3. 13 ตุลาคม 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตรา “พระราชบัญญัติจัดตั้งกรมราชทัณฑ์” รวบรวมการคุก การตะราง การเรือนจำ ที่กระจัดกระจายตามหัวเมืองและสังกัดกระทรวงต่าง ๆ มาเป็นภารกิจในกรมราชทัณฑ์ ประกอบกับมีการแบ่งส่วนราชการจัดขึ้นเป็นจังหวัด จึงเป็นเรือนจำประจำจังหวัด ที่มีข้าหลวง /ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชา
4. 23 พฤศจิกายน 2479 หลังการปฏิรูประบบการปกครอง มีการตราพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดกรมราชทัณฑ์ เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย
มีข้าหลวง /ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง และเรือนจำบางแห่งกรมราชทัณฑ์ได้มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการเรือนจำขึ้นเป็นการเฉพาะ


8. ผู้บัญชาการเรือนจำที่มาจากการแต่งตั้งของกรมราชทัณฑ์คนแรก
นายวิโรจน์ วิบูลย์ศิลป์ ได้รับแต่งตั้งจากกรมราชทัณฑ์ให้เป็นผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นคนแรก (ผู้บัญชาการเรือนจำที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรมราชทัณฑ์)
9. เรือนจำกลางประธานเขต 8
กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งที่ 372/2529 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2529 ให้ยกฐานะเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย โดยมี นายสมบูรณ์ ประสพเนตร เป็นผู้บัญชาการเรือนจำกลาง สุราษฎร์ธานี เป็นคน
10. ปี พ.ศ.2546 กรมราชทัณฑ์ได้ย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม
การบริหารราชการเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี
เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี เป็นราชการบริหารส่วนกลางที่อยู่ในส่วนภูมิภาค ขึ้นตรงกับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม อำนาจการควบคุมขณะนั้นกำหนดโทษไม่เกิน 20 ปี เขตอำนาจศาล ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศาลจังหวัดเวียงสระ ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี ศาลจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี



เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี แห่งปัจจุบัน
11. เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี ได้ย้ายจากถนนดอนนก อำเภอเมือง ไปยังอำเภอกาญจนดิษฐ์ เลขที่ 168 หมู่ที่ 3 ตำบลพลายวาส แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการวันแรกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 มีการแบ่งการควบคุมดูแลเป็น 10 แดน ดังนี้
- แดน 1 แดนสูทกรรม
- แดน 2 แดนเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย /แดนกักขัง
- แดน 3 แดนพยาบาล
- แดน 4 แดนรายสำคัญ
- แดน 5 แดนนักโทษเด็ดขาด 2
- แดน 6 แดนความมั่นคงสูง
- แดน 7 แดนนักโทษเด็ดขาด 1
- แดน 8 แดนแรกรับ
- แดน 9 แดนหญิง
- แดน 10 แดนการศึกษา
ปัจจุบันมีผู้ต้องขังชาย 4,201 คน ผู้ต้องขังหญิง จำนวน 505 คน รวม 4706 คน (10 ธันวาคม 2566)
ตะราง/เรือนจำเมืองสุราษฎร์ธานี
5. ในวันที่ 20 ตุลาคม 2487 เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับตัวนักโทษคดีกบฏบวรเดชจากเรือนจำเกาะเต่าเพื่อทำการปล่อยตัวเนื่องจากมีการพระราชทานอภัยโทษนักโทษการเมือง
6.ประมาณ พ.ศ.2488 กรมราชทัณฑ์เตรียมการย้ายเรือนจำจากข้างจวนผู้ว่าราชการ เนื่องจากเป็นเรือนจำเก่าแก่ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ไร่เศษ จำนวนนักโทษเพิ่มมากขึ้น ชุมชนเมืองมีความหนาแน่น จึงได้ทำการก่อสร้างอาคารที่ทำการของเรือนจำขึ้นที่ดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย ที่เป็นสนามบินเก่า (ปัจจุบันติดเขตตำบลตลาด)
เรือนจำเก่าถนนตลาดใหม่ กำแพงเป็นสังกะสี
ข้อมูลจาก พระเวียง กุสลจิตโต (นายเวียง ทะเขียว) อายุ 88 ปี (พ.ศ.2553) ข้าราชการบำนาญ อดีตเคยรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญในตำแหน่ง ผู้คุมตรี ณ เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2496 ให้ข้อมูลว่า เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ภายในเรือนจำประมาณ 2 ไร่เศษ มีเรือนนอนชาย เป็นเรือนนอนไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนโล่ง 2 หลัง เรือนนอนหญิง 1 หลัง กำแพงสังกะสี ในสมัยนั้นมี ร้อยตรี พยนต์ เปรมเดชา (*ความเห็นผู้เขียน : ร้อยตรีพยอม? เปรมเดชา --อ้างถึงพัศดีเรือนจำเกาะเต่า ก่อนปิดทำการเรือนจำสำหรับนักโทษการเมือง ตามประวัตินักโทษการเมืองเรือนจำตะรุเตา จังหวัดสตูล สู่เรือนจำเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี) บ้านพักพัศดีอยู่บริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้คุมชาย ประมาณ 10 คนไม่มีผู้คุมหญิง มีผู้ต้องขังประมาณ 600 คน มีผู้ต้องขังหญิงประมาณ 2 – 3 คน
เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (แห่งเดิม ที่ตั้ง : สนามบินเก่า ดอนนก)
7. พ.ศ. 2497 เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ย้ายมาถนนดอนนก เลขที่ 78 ถนนดอนนก ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่บริเวณนี้เป็นสนามบินเก่า มีเนื้อที่ทั้งหมด 17 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา เนื้อที่ภายในเรือนจำ จำนวน 10 ไร่ 4 งาน 60 ตารางวา ขณะที่ย้ายมาในตอนแรกมีเรือนนอนชายเป็นเรือนนอนไม้ ชั้นเดียว ใต้ถุนโล่ง 2 หลัง เรือนนอนหญิง ชั้นเดียว 1 หลัง สมัยนี้เรือนจำมีรั้วสังกะสีเป็นเขตที่อยู่ของนักโทษ ไม่มีกำแพงปูนเช่นปัจจุบัน มีร้อยตรีพยนต์ เปรมเดชา (ร้อยตรีพยอม เปรมเดชา พัศดีเรือนจำเกาะเต่าเดิม? : ผู้เขียน) เป็นพัศดีคนแรกของเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ดอนนก) การฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง คือ ช่างไม้ ช่างจักรสาน เป็นหลัก
สร้างกำแพงปูน
ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2516 – 2517 นายฟื้น วิมุติพันธ์ ต่อเนื่องถึงนายวิโรจน์ วิบูลย์ศิลป์ เป็นพัศดี ได้รับงบประมาณจากกรมราชทัณฑ์ ทำการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตแบบถาวรความสูง 6 เมตร
แผนการย้ายเรือนจำออกนอกเมือง
กรมราชทัณฑ์มีแผนเตรียมการย้ายเรือนจำเก่าที่อยู่ใจกลางชุมชน มีผู้ต้องขังหนาแน่น ออกไปนอกเมือง จึงจัดหาสถานที่ก่อสร้างเรือนจำที่บริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์ ป่าทุ่งเขนสาธารณประโยชน์ ตำบลพลายวาส ซึ่งเป็นที่ตั้งของเรือนจำชั่วคราวทุ่งเขนที่ไปดำเนินการสำหรับเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัวพ้นโทษอยู่แล้ว เนื้อที่ทั้งหมด 413-2-08 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง จำนวน 106-0-22 ไร่ ภายใน 42 ไร่เศษ
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2558 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565
ก่อนการย้ายเรือนจำแห่งเดิมที่ถนนดอนนก อำเภอเมือง มีผู้ต้องขังชาย จำนวน 2,578 คน ผู้ต้องขังหญิง 263 คน อำนาจการควบคุมขณะนั้นกำหนดโทษไม่เกิน 20 ปี
มีการย้ายผู้ต้องขังไปทำการปรับปรุงพื้นที่ ทดสอบอาคาร และปรับปรุงทัศนียภาพ รวมถึงทดสอบระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 จำนวน 150 คน