top of page

การพักการลงโทษ หรือลดวันต้องโทษ

เรือนจำจะเป็นผู้ดำเนินการให้กับผู้ต้องขังทุกคนที่เข้าเกณฑ์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

*การสืบเสาะ เป็นขั้นการเริ่มต้นการเก็บข้อมูลเพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการชั้นเรือนจำ ซึ่งประกอบด้วย ปปส. ตำรวจ คุมประพฤติ ท้องที่ ท้องถิ่น สามารถทำการสืบเสาะได้ล่วงหน้า 1 ปี โดยพนักคุมประพฤติ และส่งผลการพิจารณาชั้นเรือนจำไปยังคณะอนุกรรมการฯ ของกรมราชทัณฑ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อผลเป็นประการใด กรมราชทัณฑ์จะแจ้งกลับมาที่เรือนจำ

การสืบเสาะ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. สำนักคุมประพฤติในเขตพื้นที่ที่ผู้ต้องขังจะไปอาศัยอยู่หลังปล่อยตัว

  2. เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี

เอกสารการสืบเสาะเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาให้ประโยชน์แก่ผู้ต้องขัง สามารถทำได้ก่อนถึงเกณฑ์ประมาณ 1 ปี เพื่อทำการปล่อยตัวก่อนกำหนดภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ  2 กรณี คือ

  • การพักการลงโทษ [สัดส่วนวันต้องโทษ/โทษที่เหลือ=ปล่อยก่อนกำหนด =>คุมประพฤติจนพ้นโทษ]

  • การลดวันต้องโทษ  [ประโยชน์ที่ได้ลดวันต้องโทษตามชั้นสะสม – กำหนดโทษ = ปล่อยก่อนกำหนด =>คุมประพฤติจนพ้นโทษ]

เรือนจำเป็นผู้ดำเนินการให้กับนักโทษทุกคน ส่งแบบสืบเสาะให้สำนักงานคุมประพฤติแต่ละท้องที่ทำการสืบเสาะหาข้อเท็จจริง ข้อมูลคดี มีผู้อุปการะ ผู้เสียหายได้รับการบรรเทา มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีอาชีพหลังปล่อยตัว พนักงานคุมประพฤติมีความเห็นสมควรปล่อยตัว

คณะกรรมการชั้นเรือนจำประชุมพิจารณา ส่งให้คณะอนุกรรมการกรมราชทัณฑ์วินิจฉัย

พักการลงโทษปกติ

เกณฑ์พักการลงโทษทั่วไป

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

นักโทษเด็ดขาดสูงอายุที่มีอายุ 60  ปีขึ้นไป

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาเสพติดและผู้ค้ารายย่อย

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย (เรือนจำโครงสร้างเบา)

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

เจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรืออายุ 70 ปีขึ้นไป

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังติดยาเสพติดรูปแบบชุมชนบำบัด

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

ลูกเสือวิวัฒน์เพื่อพลังแผ่นดิน

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

เศรษฐกิจพอเพียงภายใต้โครงการกำลังใจ

พักการลงโทษกรณีพิเศษ

นักโทษเด็ดขาดที่มีโทษระยะสั้น

created by Sirirak, June 2021

bottom of page