top of page

กระบวนการยุติธรรม

-ตำรวจ

*เรียกคนต้องคดีว่า @ผู้ต้องหา

-ทนายความ

-อัยการ

-ศาล

 

*เรียกผู้ถูกกล่าวหาว่า @จำเลย

-ราชทัณฑ์

เรียกคนต้องขังว่า @ผู้ต้องขัง

เรียกคนคดีเด็ดขาดว่า @นักโทษ

-ตำรวจ มีอำนาจขอศาลฝากขังผู้ต้องขัง(ที่เรือนจำ) ระหว่างสอบสวน ฝากละ 12 วัน ไม่เกิน 7 ฝาก (สูงสุด 84 วัน)

-อัยการ มีอำนาจฝากขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง เช่นเดียวกับตำรวจ อัยการทำหน้าที่เป็นโจทก์แทนผู้เสียหาย แทนตำรวจ แทนรัฐ พิจารณาเสนอบทลงโทษอย่างเป็นธรรมต่อศาลตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนคดีถึงที่สุด

-ศาล มีอำนาจสั่งขังระหว่างพิจารณาจนกว่าจะมีคำพิพากษา

หากไม่อุทธรณ์ / ฎีกา ในเวลาที่กำหนด คดีถือว่าถึงที่สุด คำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นอันสิ้นสุด จะต่อสู้คดีต่อไปไม่ได้

-ทนายความ เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ชั้นจับกุม

-ราชทัณฑ์ (เรือนจำ) ควบคุมตัวผู้ต้องขังตั้งแต่ชั้นฝากขังของตำรวจ จนถึงมีคำพิพากษาของศาล ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี แต่ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา หลักสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด

การปล่อยตัวชั่วคราว

การปล่อยตัวชั่วคราวหรือการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี

ผู้ต้องขังที่ยังอยู่ระหว่างคดี คือ

-ขังระหว่างสอบสวนของตำรวจ

-ขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องของอัยการ

-ขังระหว่างพิจารณาคดีของ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

ผู้อยู่ระหว่างฯ สามารถยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ที่ศาลทุกคน ศาลจะอนุญาต/ไม่อนุญาต มีเงื่อนไขหรือต้องใช้หลักทรัพย์จำนวนเท่าใด ขึ้นกับการพิจารณาของศาล หากคดีถึงที่สุดแล้วไม่สามารถขอประกันตัวได้อีก เรือนจำจะบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น

คดีเด็ดขาดถึงที่สุด

  • ศาลชั้นต้น ไม่อุทธรณ์ตามเวลา คดีถือเป็นที่สุด

  • ศาลอุทธรณ์ ไม่ฎีกาตามเวลา คดีถือเป็นที่สุด

  • ศาลฎีกา คำพิพากษาถือเป็นที่สุด

คดียังไม่ถึงที่สุด ไม่จัดเป็นนักโทษเด็ดขาด ไม่มีชั้น ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ไม่ได้พักการลงโทษ/ลดวันต้องโทษ ไม่ได้รับสิทธิ์ของนักโทษเด็ดขาด

(หัว)ใบแดง หมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำพิพากษา ยกเว้น

  • ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว  แต่ขอสู้คดีเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม ปฏิเสธมิได้กระทำความผิด หรือขอลดโทษ คดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ (กรณีไม่อุทธรณ์ ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด)

  • ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว แต่สู้คดี อาจนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา (กรณีไม่ฎีกา ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด)

ศาลฎีกา พิพากษาถือเป็นสิ้นสุด ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด

ความอัศจรรย์ของสำเนาคำพิพากษา

1. สำเนาคำพิพากษากรณีคดียังไม่ถึงที่สุด

2. สำเนาคำพิพากษากรณีคดีถึงที่สุด

สำเนาคำพิพากษากรณีคดียังไม่ถึงที่สุด

สำเนาคำพิพากษาจะประกอบไปด้วยพฤติการณ์การก่อเหตุของผู้ถูกกล่าวหา การพิจารณาคดีของศาล ซึ่งมีความจำเป็นที่ผู้ต้องขังจะต้องอ่านทำความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้ต่อสู้คดีในชั้นต่อไป หรือแก้คำอุทธรณ์/ฎีกา ของโจทก์

ญาติสามารถติดต่อขอคัดถ่ายสำเนาคำพิพากษาได้ที่ศาล ส่งให้ผู้ต้องขังได้ ๒ ทาง คือ

๑) นำมาฝากให้ผู้ต้องขังที่เรือนจำ โดยเขียนคำร้องที่ฝ่ายทัณฑปฏิบัติระบุวัตถุประสงค์เพื่อนำไปต่อสู้คดี แล้วนำส่งที่ประตูเรือนจำ 

๒) หากคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ต้องขังไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อต่อสู้คดี ให้นำมามอบให้ฝ่ายทัณฑปฏิบัติหรือส่งถึงหัวหน้าฝ่ายทัณฑปฏิบัติ (คำพิพากษามีความหนาจะถูกจัดเป็นพัสดุที่ผู้ต้องขังไม่สามารถรับได้)

สำเนาคำพิพากษากรณีคดีถึงที่สุด

เรือนจำมีความจำเป็นต้องมีสำเนาคำพิพากษาของผู้ต้องขังทุกราย โดยมีวัตถุประสงค์

๑) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง คัดกรองแยกแยะกลุ่มผู้ต้องขังและปฏิบัติต่อผู้ต้องขังได้เป็นรายบุคคล สามารถจัดการอบรมหรือกำหนดหลักสูตรที่เหมาะสม

๒) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาสิทธิประโยชน์แก่ผู้ต้องขัง เช่น การพักการลงโทษ การลดวันต้องโทษ การเป็นผู้ช่วยงาน/ผู้ช่วยเหลือ การย้ายไปอบรมหรือฝึกวิชาชีพ การย้ายไปเรือนจำชั่วคราว การได้รับพระราชทานอภัยโทษ ฯลฯ

โดยปกติบางศาลเมื่อออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด จะให้สำเนาคำพิพากษามาด้วยโดยไม่ต้องร้องขอ แต่หากไม่มีฝ่ายทัณฑปฏิบัติมีหน้าที่ต้องขอจากศาล

created by Sirirak, June 2021

bottom of page